top of page
พระไตรปิฎก คือคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาที่รวบรวมพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แบ่งเป็น 3 ส่วน โดยมีโครงสร้างและสาระสังเขป ดังนี้
1. พระวินัยปิฎก แบ่งเป็น 8 หมวด คือ
1.1 มหาวิภังค์ ภาค 1 ว่าด้วยศีลของภิกษุที่มีโทษหนัก
1.2 มหาวิภังค์ ภาค 2 ว่าด้วยศีลของภิกษุที่มีโทษเบา,มารยาทอันดีงามและวิธีระงับคดีความ
1.3 ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยศีล 311 ข้อของภิกษุณี
1.4 มหาวรรค ภาค 1 ว่าด้วยการอุปสมบท อุโบสถ จำพรรษาและปวารณา
1.5 มหาวรรค ภาค 2 ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนัง ยารักษาโรค กฐิน จีวร การลงโทษ และการระงับคดีความ
1.6 จูฬาภาค ภาค 1 ว่าด้วยการลงโทษ กรณีภิกษุชาวเมืองจำปา ระเบียบวิธีปฎิบัติาำหรับการเปลื้องตนจากอาบัติ และการระงับคดีความ
1.7 จูฬาภาค ภาค 2 ว่าด้วยเรื่องข้อปฎิบัติเรื่องเสนาสนะ การทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ระเบียบต่างๆ การงดสวดปาติโมกข์
1.8 ปริวารวรรค ว่าด้วยคำถามและคำตอบเรื่องพระวินัย
2.พระสุตตันปิฎก แบ่งเป็น 5 หมวดคือ
2.1 ทีฆนิกาย เป็นหมวดพระสูตรขนาดยาว ทั้งหมด 3 เล่ม
2.2 มัชฌิมนิกาย เป็นหมวดพระสูตรขนาดกลาง ทั้งหมด 3 เล่ม
2.3 สังยุตตนิกาย เป็นหมวดพระสูตรที่จัดกลุ่มตามเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน ทั้งหมด 5 เล่ม
2.4 อังคุตตรนิกาย เป็นหมวดพระสูตรที่จัดกลุ่มตามจำนวนข้อธรรม ทั้งหมด 5 เล่ม
2.5 ขุฑทกนิกาย เป็นหมวดพระสูตร ภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดต่างๆ ทั้งหมด 9 เล่ม
3. พระอภิธรรมปิฎก แบ่งเป็น 7 หมวด คือ
3.1 สังคณี คือ ข้อธรรมที่รวมไว้เป็นหมวดหมู่ แล้วอธิบายทีละประเภท
3.2 วิภังค์ คือ ยกหมวดธรรมสำคัญๆขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่อง แล้วแยกแยะออกโดยละเอียด
3.3 ธาตุกถา คือ สงเคราะห์ข้อธรรมต่างๆเข้าในขันธ์ อายตนะ และธาตุ 4
3.4 ปุคคลบัญญัติ คือ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ
3.5 กถาวัตถุ คือ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆสมัยสังคายนาครั้งที่ 3
3.6 ยมก คือ ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามและตอบ
3.7 ปัฏฐาน คือ อธิบายปัจจัย 24 แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร
bottom of page