การสวดมนต์แปลและ แผ่เมตตา
การไหว้พระสวดมนต์เป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตน ตรัยที่เราต้องปฏิบัติให้พร้อมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อให้เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา ผู้ที่ปฏิบัติเป็นประจำจะเกิดสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ ประณีตและมีคุณธรรม ทำให้ความเห็นถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา
ในขณะที่สวดมนต์ถือเป็นการ บริหารจิตและเจริญปัญญาเบื้องต้น จะทำให้มีสติและสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันเสมอ การไหว้พระสวดมนต์ โดยมากนิยมทำในตอนเช้าและก่อนนอน หรือทำก่อนที่เราจะฝึกสมาธิซึ่งจะช่วยให้ผู้ฝึกจิตสงบ มีสมาธิ และระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
ประโยชน์ของการสวดมนต์แผ่เมตตา
1. เป็นสุขทั้งยามหลับยามตื่น
2. ขณะหลับอยู่ไม่ฝันร้าย
3. สีหน้าสดชื่นผ่องใส เป็นที่รักของผู้พบเห็น
4. จิตมั่นคง ใจเป็นสมาธิตั้งมั่นได้เร็ว
5.เทวดาย่อมรักษาคุ้มครอง
ประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา
มนุษย์มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ร่าง กายและจิตใจ ในส่วนของร่างกายก็ทานอาหารที่ถูกหลักอนามัยและออกกำลังกายอยู่เสมอ จึงจะเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนจิตใจนั้นก็ต้องมีการเลี้ยงดูเหมือนกัน ถ้าจะให้จิตใจแข็งแรงก็ต้องมีการบริหารจิตใจ
การฝึกบริหารจิต เป็นการให้อาหารใจที่มีประสิทธิภาพ จิตใจที่ได้รับการฝึกสมาธิจะบริสุทธิ์สะอาด มีคุณธรรม มีความเข้มแข็ง มีความผ่อนคลาย สงบสุข ควรแก่การพัฒนาทางด้านปัญญา คือ การอ่าน การฟัง หรือการศึกษาหาความรู้ในสิ่งต่าง ๆ โดยคิดไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนจนเกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่เรียกว่า ปัญญา
ประโยชน์ของการบริหารจิต
1. ทำให้กายและจิตผ่องใส มีความสงบ
2. ทำให้จำแม่น เข้าใจได้รวดเร็ว เป็นผลดีตอการศึกษาเล่าเรียน
3. ทำให้มีความหมายเมตตากรุราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สัตว์อื่น
4. ทำให้มีจิตตั้งมั่น มีสติ สมาธิ ปัญญา อยู่กับตัวตลอดเวลา
5. ทำให้มีปัญญารอบรู้ รู้จักเหตุผล และสิ่งอันควรและไม่ควร
6. ช่วยไม่ให้ประมาทในชีวิต และมีสำนึกในหน้าที่ของตนเองอยู่ตลอดเวลา
ฝึกการบริหารจิตและเจริญ ปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน
สติ ปัฏฐาน 4 หมายถึง ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติหรือข้อปฏิบัติที่ใช้สติเป็นหลักในการคิดพิจารณา สิ่งทั้งหลาย แบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ
1. กายานุปัสสนา การใช้สติพิจารณากายให้เห็นตามความเป็นจริงของกาย นั้น ๆ การฝึกโดยใช้สติพิจารณากายและองค์ประกอบในกาย อาจฝึกได้ คือ1 อานาปานสติ 2 อิริยาบถ 3 สัมปชัญญะ 4 ปฏิกูลมนสิการ 5 ธาตุมนสิการ 6 นวสีถิกา
2. เวทนานุปัสสนา คือ การใช้สติกำหนดรู้อารมณ์ของเราเองที่เกิดขึ้น 3 อย่าง คือ ความรู้สึกทุกข์(ทุกขเวทนา) ดีใจเป็นสุข (สุขเป็นเวทนา) และ ไม่ได้ดีใจไม่เสียใจ (อุเบกขาเวทนา) และมองเป็นเพียงอารมณ์ที่รับรู้และไม่ยินดีไปกับอารมณ์เหล่านั้น
3. จิตตานุปัสสนา คือ การมีสติพิจารณาจิต (ความคิด) ที่เกิดเศร้าหมอง หรือยินดีหรือการใช้จิตตัวเองกำหนดรู้และไม่ยินดีไปกับอารมณ์เหล่านั้น
4. ธัมมานุปัสสนา คือ การใช้สติกำหนดพิจารณาธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจิต เป็นการพิจารณาธรรมเพื่อให้รู้ ใช้เป็นเครื่องระลึกไม่ให้เราผู้ปฏิบัติไปยึดมั่นถือมั่น
ฝึก บริหารจิตและเจริญปัญญาแบบอานาปานสติ
อา นาปานสติ แปลว่า การระลึกถึงลมหายใจเข้าออก คือ การฝึกใช้สติกำหนดลมขณะเข้าและออกในแบบต่าง ๆ รวม ทั้งมีสติเห็นถึงการเกิดและดับของลมหายใจ โดยมีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้
1. เลือกสถานที่ให้เหมาะสม สงบเงียบ เหมาะต่อการปฏิบัติ
2. เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติต้องกำหนดให้เหมาะสม
3. สมาทานศีล รับศีลจากพระ หรือสมาทานงดเว้นด้วยตนเอง เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติ
4. นมัสการพระรัตนตรัย สวดมนต์รำลึกถึงคุณ ของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
5. ตัดปลิโพธ คือ ความห่วงกังวลทุกอย่างให้หมดสิ้น ให้กำหนดเฉพาะการฝึกการบริหารจิตและเจริญปัญญาเท่านั้น โดยนั่งขัดสมาธิเหมือนพระพุทธรูปปางสมาธิแล้วกำหนดลมหายใจเข้าออก
วิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญา สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ คุณภาพชีวิตและสังคม โดยสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างดี เช่น
- ด้านการควบคุมจิต เพื่อสุขภาพจิตที่ดี คนเราถ้าได้รับการอบรมจิตจนเป็นสมาธิแล้ว จิตจะไม่ฟุ้งซ่านสงบดีและทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี เมื่อเรามีสุขภาพจิตดีแล้วก็ย่อมส่งผลทำให้มีร่างกายและสติปัญญาดี
- ด้านการศึกษาเล่าเรียน การนำการบริหารจิตไปใช้ในการศึกษา คือ เวลาที่เราเรียนหนังสือ อ่านหนังสือ หรือฟังครูสอนในชั้นเรียน ควรมีสติ มีสมาธิ จะทำให้เราสามารถทำความเข้าใจในการเรียนได้ดีขึ้น
- ด้านการทำงาน หากทำงานอะไรก็ตาม ถ้ามีสติอยู่ตลอดเวลาจะช่วยป้องกันอันตรายได้เป็นอย่างดีเพราะเมื่อผู้ ปฏิบัติงานมีจิตใจที่สงบ ม่นคง ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้ปฏิบัติงานก็จะตั้งใจทำงานเหล่านั้นอบย่างเต็มกำลังจนงานสำเร็จไม่มีข้อ ผิดพลาด และงานนั้นก็ออกมาอย่างมีคุณภาพ