top of page

พระพทธศาสนาเป็นเรื่องของการปฏิบัติ หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาจึงเป็นขอปฏิบัติที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงไดไม่ ว่าโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต พระพุทธศาสนาจะช่วยวางแนวทางปฏิบัติที่บุคคลพึงมีทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและ

ระหว่างบุคคลเพื่อความสงบสุขในโลก

 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อการดำรงตนอย่างเหมาะสมในกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก

          โลกมีการเปลี่ยนแปลงของโลกเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งหมายถึงการที่วัฒนธรรม ประเพณีความเชื่อระบบ ครอบครัวระบบการเมืองการปกครองมีการเปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกนั้นอาจเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอยอย่างถาวรหรือชั่วคราวที่ มีการวางแผนไว้หรือเป็นไปเองก่อให้เกิดประโยชน์หรือโทษก็ได้ทั้งสิ้นการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ดีย่อมเกิดประโยชน์แต่หากเป็นไปในทางร้ายอาจทำให้บุคคลไม่อาจแก้ปัญหาได้ยอมประสบกับความทุกข์การเปลี่ยนแปลงของโลกทางเศรษฐกิจที่ทําให้มนุษย์ต้องประสบกบภาวะทุกข์ เช่น ปัญหาความอยากจน อาชญากรรม ด้านสงคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม และก่อให้การเกิดภาวะโลกร้อน และเกิดภัยธรรมชาติ ต่างๆ ด้วยเหตุนี้บุคคลจำเป็นต้องแสวงหาแนวทางในการดำเนินชีวิตเพื่อใหอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจึงถูกนำมาประยุกตุ ใช้ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวที่สําคัญได้แก่อริยสัจ 4อริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่สามารถนำประยุกตุ ใช้ในการแก้ ปัญหาในชีวิตได้และทางสายกลางหรือหลักมัชฌันมาปฏิปทาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกนี้

 

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

         การอยร่วมการอย่างมีความสุข หมายถึงการที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์

ร่วมกันทั้งกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผน กฎหมายรวมถึงการมีคุณธรรมและจริยธรรมซึ่งเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติตน ทําให้คนในสังคมอยู่ รวมกันอย่างสันติสุข หลักธรรมที่ทําให้คนในสังคมอยู่ ร่วมกันอย่างสันติคือหลัก

กุศลกรรมบถ 10 ซึ่งหมายถึง หนทางทำความดีที่จะนำไปสู่ความสุขความเจริญ โดยไม่ต้องเบียดเบียนหรือทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นการทำความดีทั้งกายวาจาและใจ ดังนี้

1. ทางกายได้แก่

1.1 ละเว้นจากการล่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย  บุคคลควรมีความเมตตา

ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข และมีความกรุณาเพื่อช่วยเหลือเกื้อกลูกัน

1.2 ละเว้นจากการลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้อื่น

1.3 ละเว้นจากการประพฤติในกาม การไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ

2. ทางวาจาได้แก่

2.1 ละเว้นจากการพูดเท็จ ทั้งเพื่อตนเองผู้อื่น หรือเห็นแก่ผลประโยชน์ใด ๆ

2.2 การละเว้นจากการพูดส่อเสียดเพื่อให้คนแตกแยก หรือโกรธเกลียดกัน บุคคลควรใช้คําพูดเพื่อส่งเสริมให้คนมีความสามัคคีกัน

2.3 การละเว้นจากการพูดคำหยาบ บุคคลควรพูดแต่คําสุภาพอ่อนหวาน

2.4 การละเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ บุคคลควรพูดแต่ความจริง มีเหตุผล มีสาระประโยชน์และถูกกาลเทศะ

3. ทางใจได้แก่

3.1 ไม่คิดอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน

3.2 ไม่คิดปองร้าย พยาบาท อาฆาต แค้นเคืองผู้อื่น แต่ควรคิดปรารถนาดีต่อผู้อื่น

3.3 การมีความเห็นชอบ คือไม่เห็นผิดไปจากธรรมนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดีทําชั่วได้ชั่ว

หากบุคคลในสังคมใดมีคุณธรรม จริยธรรม ยึดหลักกุศลกรรมบถ 10 เพื่อเป็นแนวทางในการ

ประพฤติปฏิบัติแล้ว สังคมนั้นย่อมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สงบ เกิดสันติสุขโดยทั่วกันฟ

ต่อไป
bottom of page