ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่ไม่มีนักบวชหรือนักพรตในการประกอบพิธีกรรม แต่มุสลิมทุกคนเป็นทั้งฆราวาสและนักบวชอยู่ในตัวคนเดียวกัน และถือหลักการของศาสนาเป็นธรรมนูญสูงสุดในการดำรงชีวิต
หลักปฏิบัติทางศาสนกิจที่สำคัญ ได้แก่ หลักปฏิบัติ ๕ ประการ มีดังนี้
1. การละหมาด
การละหมาด เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนจะต้องละหมาด วันละ 5 เวลา เรียกว่า ละหมาดฟัรฎู ละหมาด หมายถึง การขอพร ความหมายทางศาสนาหมายถึง การกล่าวและการกระทำ ซึ่งเริ่มต้นด้วยตักบีร และ จบลงด้วยสะลาม การละหมาดเป็นการสร้างเอกภาพอย่างหนึ่งของมุสลิม เมื่อละหมาดมุสลิมทั่วโลก หันหน้าไปทางกิบละฮฺ เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ การละหมาด ฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่ประพฤติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางชั่วร้าย ดังอัลกุรอานระบุไว้ ความว่า
" และจงละหมาด แท้จริงการละหมาดจะยับยั้งความลามกอนาจารและสิ่งต้องห้าม "
อัล - อังกะบูต : 45
การละหมาดฟัรฏู อัลลอฮฺทรงกำหนดให้มุสลิมทำการละหมาด วันละ 5 เวลา คือ
1. ละหมาดศุบหฺ มี 2 ร็อกอะฮฺ เวลา เริ่มตั้งแต่ฟ้าสางจนถึงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น
2. ละหมาด ซุฮฺริ มี 4 ร็อกอะฮฺ เวลาเริ่มตั้งแต่ดวงตะวันคล้อยจนเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดทอดยาวออกไปเท่าตัว
3. ละหมาดอัศรฺ มี 4 ร็อกอะฮฺ เวลา เริ่มตั้งแต่เมื่อเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ยาวกว่าเท่าตัวของมันเอง จนถึงดวงอาทิตย์ตกดิน
4. ละหมาดมักริบ มี 3 ร็อกอะฮฺ เวลา เริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกดิน จนสิ้นแสงอาทิตย์ คือเวลาพลบค่ำ
5. ละหมาดอิชาอฺ มี 4 ร็อกอะฮฺ เวลา เริ่มตั้งแต่เวลาค่ำจนถึงก่อนฟ้าสาง
คุณสมบัติของผู้ที่ต้องละหมาด
1. เป็นมุสลิม
2. บรรลุศาสนภาวะ
3. มีสติสัมปชัญญะ
4. ปราศจากหัยฎฺ นิฟาส หรือ วิลาดะฮฺ
ความสำคัญ
ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามทุกคนต้องปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดเพราะ การละหมาดเป็นศาสนกิจเพื่อเข้าเฝ้าต่อเบื้องพระพักตร์ของพระผู้เป็นเจ้าอัลลอฮ (ซุบฮาฯ) ด้วยความสงบ สำรวม จึงเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จะต้องปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวัน วันละ ๕ เวลาตลอดไป
พิธีกรรม
ในการละหมาดนั้นจะเริ่มปฏิบัติตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ การละหมาดฟัรดูทั้ง ๕ เวลาคือ ซุบฮิ ดุฮรี อัสริ มักริบ และอีซา ซึ่งมีจำนวนรอกาอัตที่แตกต่างกันคือ ๒, ๔, ๔, ๓และ ๔ รอกาอัต ในรอกาอัตหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยท่ายืน ท่าก้มโค้ง (รูกูอ) ท่าก้มกราบ(สุญูด) และท่านั่ง ด้วยความสงบสำรวม การก้มกราบ (สุญูด) มุสลิมจะก้มกราบได้เฉพาะกับพระเจ้าอัลลอฮ (ซุบฮาฯ)องค์เดียวเท่านั้น เวลาละหมาดให้หันหน้าไปทางกิบละอ ซึ่งกิบละอของไทยอยู่ทางทิศตะวันตก สำหรับการละหมาดญุมอะฮ หรือชาวไทยมุสลิมเรียกว่า "ละหมาดวันศุกร์" เป็นละหมาดฟีรดูจำเป็นหรือบังคับสำหรับผู้ชายที่จะต้องไปละหมาดรวมกันโดยมีอิหม่ามเป็นผู้นำละหมาด ซึ่งมีจำนวน ๒ รอกาอัด หลังจากการกล่าวคุฎบะฮ (คำอบรมของอิหม่าม) สถานที่ควรเป็นมัสยิด หากบริเวณนั้นไม่มีมัสยิดก็ให้รวมกันเพื่อการละหมาดในสถานที่ที่สะอาด โดยให้มีผู้ทำหน้าที่ มุอัซซิน กล่าวคุฎบะฮและนำละหมาด
เงื่อนไขของการละหมาด
นอกจากมีกฎเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ผู้ละหมาดยังต้องคำนึงถึงเงื่อนไขของการละหมาดอีก 8 ประการ คือ
1. ต้องปราศจากหะดัษใหญ่และหะดัษเล็ก คือ ต้องไม่มีญะนาบะฮฺ หัยฎู นิฟาส หรือ วิลาดะฮฺ และต้องมีน้ำละหมาด
2. ร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม และสถานที่ละหมาด ต้องสะอาด
3. ต้องปกปิดเอาเราะฮฺ กล่าวคือ ผู้ชายต้องปิดตั้งแต่สะดือถึงหัวหัวเข่า ผู้หญิงจะต้องปกปิดทั่วร่างกาย ยกเว้นมือและใบหน้า
4. ต้องหันหน้าไปทางกิบละฮฺ
5. ต้องรู้ว่าได้เวลาละหมาดแล้ว
6. ต้องรับว่ามุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติการละหมาด
7. ต้องไม่ตั้งใจเปลี่ยนการละหมาดเป็นอย่างอื่น
8. ต้องห่างไกลจากสิ่งที่ทำให้เสียละหมาด
ช่วงเวลา
การละหมาดเป็นการประกอบศาสนกิจที่สำคัญยิ่งสำหรับมุสลิมทุกคนที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง และตามเวลาในแต่ละวัน โดยแบ่งประเภทของการละหมาดออกเป็น ๒ ประเภท คือ การละหมาดฟัรดู และการละหมาดสุหนัต การละหมาดฟัรดูเป็นการละหมาดที่บังคับหรือจำเป็นต้องปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติจะต้องได้รับการลงโทษ โดยแบ่งเป็นสองส่วนคือฟัรดูอิน เป็นละหมาดที่บังคับต้องปฏิบัติโดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อยกเว้นเฉพาะตน วันละ ๕ เวลา สำหรับผู้ชายจะต้องละหมาดญุมอะฮหรือละหมาดวันศุกร์ อีกส่วนหนึ่งคือ ฟัรดูกิฟายะฮู เป็นละหมาดที่บังคับต้องปฏิบัติแต่มีเงื่อนไขในการปฏิบัติตามสถานการณ์ คือหากมีผู้ปฏิบัติอยู่บ้างแล้วจะไม่เป็นบาปแก่คนทั้งหมด เช่น ละหมาดวันอีด (คือการละหมาดในวันอิดิลฟิตรี และอิดิลอัฎฮา) ละหมาดญะนาซะฮ (ละหมาดคนตาย) ส่วนการละหมาดสุหนัตเป็นการละหมาดเนื่องในเวลาและโอกาสต่างๆนอกเหนือจากการละหมาดฟัรดู
2. การปฏิญาณตน คำกล่าวที่ว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น และมุฮัมมัดเป็นบ่าวและศาสนาทูตของอัลลอฮ์” ในการปฏิญาณนี้คือ การยอมรับ ยอมจำนนทุกอย่างที่เกี่ยวกับอิสลาม ทุกอย่างที่มาจากคัมภีร์อัลกุรอานและอัลฮะดิษ คือซุนนะฮ์ที่มาจากท่านนะบี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินชีวิต ศาสนาอิสลามมีพระเจ้าเพียงองค์เดียว ห้ามสักการะในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาและห้ามก้มกราบมนุษย์ด้วยกันเอง เพราะมนุษย์นั้นมีฐานะเท่าเทียมกันถึงแม้จะต่างกันที่สถานภาพ ฐานะ ตำแหน่ง และหน้าที่เราสามารถให้ความเคารพได้แต่เป็นในแนวทางอื่น เพราะมนุษย์เกิดมาจากดินเหมือนกัน มิได้มีวิวัฒนาการมาจากลิง ลิงเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา
3. การถือศีลอด
โดยการถือศีลอด เป็นหลักปฏิบัติในศาสนบัญญัติ 1 ใน 5 ประการ (ประกอบไปด้วย 1.นับถือพระเจ้า(อัลลอฮฺ)องค์เดียวและนบีมูฮำหมัดเป็นศาสนฑูตคนสุดท้าย 2.ดำรงละหมาด 3.บริจาคทาน 4.ถือศีลอด 5.บำเพ็ญฮัจย์ที่ นครเมกกะ) ซึ่งชาวมุสลิมจะประพฤติปฏิบัติตน โดยการ...
- งดอาหาร น้ำ เพื่อจะได้รับรู้ความยากลำบากคนที่ยากไร้ โดยจะเริ่มตั้งแต่แสงพระอาทิตย์ขึ้น แสงพระอาทิตย์เริ่มตกดิน จากการคำนวนดูเวลาแสงพระอาทิตย์ ขึ้น-ตก ตามการคำนวณของหลักดาราศาสตร์อิสลาม วัดตามพิกัดองศาแต่ละพื้นที่ และเมื่อถึงเวลาละศีลอด มักจะรับประทานอินทผลัม โดยได้แบบอย่างมาจากท่านนบีมูฮำมัด ทั้งนี้ ผลอินทผลัมนั้น ประกอบด้วย น้ำตาลฟรุกโตส กลูโคส น้ำ วิตามิน และแร่ธาตุ โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตส จัดเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายเป็นอย่างมาก และเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
- งด ละ เลิก จากสิ่งที่ไม่ดีทั้งหมด ได้แก่ มือ(ทำร้ายหรือขโมย), เท้า(เดินไปสู่สถานที่ต้องห้าม), ตา (ดูสิ่งลามก), หู ( การฟังสิ่งไร้สาระ ,ฟังเรื่องชาวบ้านนินทากัน), ปาก (การนินทาว่าร้ายคนอื่น โกหกโป้ปด)
- ทำความดี บริจาคทานแก่คนยากจน
- อ่านคัมภีร์อัลกุรอาน เนื่องจากในเดือนนี้เป็นเดือนศักดิ์สิทธิ์ที่พระเจ้าประทานคัมภีร์อัลกรุอานมาให้แก่มนุษย์ ดังนั้น ชาวมุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษาถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็นอยู่ในโลกนี้และโลกหน้าจะเป็นอย่างไร และจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง
สำหรับผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือศีลอด ได้แก่
1. คนเจ็บป่วย
2. หญิงที่มีประจำเดือน
3. หญิงที่ให้นมบุตร แต่หากมีความสามารถ ก็จะถือได้
4. หญิงที่ตั้งครรภ์
5. คนแก่ชรา ที่ไม่มีความสามารถเพียงพอ
อย่างไรก็ตาม บุคคลเหล่านี้ต้องจ่ายทาน เป็นข้าวสารวันละ 1 มุด (1 มุด ประมาณ 6 ขีด) และสำหรับคนเจ็บป่วย และสตรีที่มีประจำเดือนนั้นให้ถือศีลอดใช้ภายหลังให้ครบก่อนรอมฎอนในปีถัดไป
เห็นแล้วใช่หรือไม่คะว่า การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ไม่ใช่แค่เรื่องของการงดอาหาร หรือเป็นเพียงแค่การปฏิบัติตามหน้าที่ทางศาสนาของชาวมุสลิมเท่านั้น แต่เพื่อเป็นการขัดเกลาจิตใจของตนเอง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของการเดินทางสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของพระองค์ที่ได้ประทานอัลกุรอานมาให้แก่มนุษย์นั่นเอง
4. การจ่ายซะกาต
ให้จ่ายซะกาตเมื่อถึงเวลาที่วาญิบต้องจ่าย และจ่ายด้วยความพึงพอใจ โดยจ่ายสิ่งที่ดีและมีคุณภาพมากที่สุดจากทรัพย์ที่ต้องจ่าย เป็นสิ่งที่เขารักที่สุด ที่มีความเป็นหะลาลมากที่สุด ทำให้ผู้รับพึงพอใจ ให้ผู้จ่ายมองว่าสิ่งที่ให้ไปเป็นสิ่งที่เล็กน้อยเพื่อให้พ้นจากความลำพองใจ และพยายามปิดบังเพื่อให้พ้นจากการโอ้อวด แต่เปิดเผยบ้างเป็นบางครั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เห็นสิ่งที่เป็นวาญิบนี้(ซะกาต) และเป็นการกระตุ้นให้คนร่ำรวยได้ปฏิบัติตาม และต้องไม่ทำลาย(ผลบุญ)มันด้วยการลำเลิกและการก่อความเดือดร้อนแก่ผู้รับ
ผู้รับซะกาตที่ดีที่สุด
ที่ดีที่สุดก็คือให้ผู้จ่ายซะกาตเลือกจ่ายแก่คนที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺมากที่สุด คนที่เป็นญาติใกล้ชิดที่สุด มีความจำเป็นมากที่สุด และเลือกให้ทานของเขาแก่คนที่จะทำให้ทานนั้นเจริญงอกงามจากบรรดาญาติที่ใกล้ชิด มีความยำเกรง เป็นผู้ศึกษาหาความรู้ คนยากจนที่ไม่ยอมขอ ครอบครัวใหญ่ที่มีความขัดสนเป็นต้น โดยที่เขาควรที่จะจ่ายซะกาตหรือให้ทานก่อนที่จะมีสิ่งกีดขวางมา(ทำให้ไม่สามารถจ่ายหรือให้ได้) และเมื่อใดที่มีคุณสมบัติที่คู่ควรจะรับซะกาตมากขึ้นในบุคคลหนึ่งๆ ก็จะยิ่งทำให้เขาคู่ควรในการรับซะกาตมากกว่า เช่นยากจนและเป็นญาติ ยากจนและเป็นผู้กำลังศึกษา เป็นต้น
พิธีกรรม
ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่ไม่มีนักบวชหรือนักพรตในการประกอบพิธีกรรม แต่มุสลิมทุกคนเป็นทั้งฆราวาสและนักบวชอยู่ในตัวคนเดียวกัน และถือหลักการของศาสนาเป็นธรรมนูญสูงสุดในการดำรงชีวิต
หลักปฏิบัติทางศาสนกิจที่สำคัญ ได้แก่ หลักปฏิบัติ ๕ ประการ มีดังนี้
1. การละหมาด
การละหมาด เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนจะต้องละหมาด วันละ 5 เวลา เรียกว่า ละหมาดฟัรฎู ละหมาด หมายถึง การขอพร ความหมายทางศาสนาหมายถึง การกล่าวและการกระทำ ซึ่งเริ่มต้นด้วยตักบีร และ จบลงด้วยสะลาม การละหมาดเป็นการสร้างเอกภาพอย่างหนึ่งของมุสลิม เมื่อละหมาดมุสลิมทั่วโลก หันหน้าไปทางกิบละฮฺ เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ การละหมาด ฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่ประพฤติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางชั่วร้าย ดังอัลกุรอานระบุไว้ ความว่า
" และจงละหมาด แท้จริงการละหมาดจะยับยั้งความลามกอนาจารและสิ่งต้องห้าม "
อัล - อังกะบูต : 45
การละหมาดฟัรฏู อัลลอฮฺทรงกำหนดให้มุสลิมทำการละหมาด วันละ 5 เวลา คือ
1. ละหมาดศุบหฺ มี 2 ร็อกอะฮฺ เวลา เริ่มตั้งแต่ฟ้าสางจนถึงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น
2. ละหมาด ซุฮฺริ มี 4 ร็อกอะฮฺ เวลาเริ่มตั้งแต่ดวงตะวันคล้อยจนเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดทอดยาวออกไปเท่าตัว
3. ละหมาดอัศรฺ มี 4 ร็อกอะฮฺ เวลา เริ่มตั้งแต่เมื่อเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ยาวกว่าเท่าตัวของมันเอง จนถึงดวงอาทิตย์ตกดิน
4. ละหมาดมักริบ มี 3 ร็อกอะฮฺ เวลา เริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกดิน จนสิ้นแสงอาทิตย์ คือเวลาพลบค่ำ
5. ละหมาดอิชาอฺ มี 4 ร็อกอะฮฺ เวลา เริ่มตั้งแต่เวลาค่ำจนถึงก่อนฟ้าสาง
คุณสมบัติของผู้ที่ต้องละหมาด
1. เป็นมุสลิม
2. บรรลุศาสนภาวะ
3. มีสติสัมปชัญญะ
4. ปราศจากหัยฎฺ นิฟาส หรือ วิลาดะฮฺ
ความสำคัญ
ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามทุกคนต้องปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดเพราะ การละหมาดเป็นศาสนกิจเพื่อเข้าเฝ้าต่อเบื้องพระพักตร์ของพระผู้เป็นเจ้าอัลลอฮ (ซุบฮาฯ) ด้วยความสงบ สำรวม จึงเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จะต้องปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวัน วันละ ๕ เวลาตลอดไป
พิธีกรรม
ในการละหมาดนั้นจะเริ่มปฏิบัติตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ การละหมาดฟัรดูทั้ง ๕ เวลาคือ ซุบฮิ ดุฮรี อัสริ มักริบ และอีซา ซึ่งมีจำนวนรอกาอัตที่แตกต่างกันคือ ๒, ๔, ๔, ๓และ ๔ รอกาอัต ในรอกาอัตหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยท่ายืน ท่าก้มโค้ง (รูกูอ) ท่าก้มกราบ(สุญูด) และท่านั่ง ด้วยความสงบสำรวม การก้มกราบ (สุญูด) มุสลิมจะก้มกราบได้เฉพาะกับพระเจ้าอัลลอฮ (ซุบฮาฯ)องค์เดียวเท่านั้น เวลาละหมาดให้หันหน้าไปทางกิบละอ ซึ่งกิบละอของไทยอยู่ทางทิศตะวันตก สำหรับการละหมาดญุมอะฮ หรือชาวไทยมุสลิมเรียกว่า "ละหมาดวันศุกร์" เป็นละหมาดฟีรดูจำเป็นหรือบังคับสำหรับผู้ชายที่จะต้องไปละหมาดรวมกันโดยมีอิหม่ามเป็นผู้นำละหมาด ซึ่งมีจำนวน ๒ รอกาอัด หลังจากการกล่าวคุฎบะฮ (คำอบรมของอิหม่าม) สถานที่ควรเป็นมัสยิด หากบริเวณนั้นไม่มีมัสยิดก็ให้รวมกันเพื่อการละหมาดในสถานที่ที่สะอาด โดยให้มีผู้ทำหน้าที่ มุอัซซิน กล่าวคุฎบะฮและนำละหมาด
เงื่อนไขของการละหมาด
นอกจากมีกฎเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ผู้ละหมาดยังต้องคำนึงถึงเงื่อนไขของการละหมาดอีก 8 ประการ คือ
1. ต้องปราศจากหะดัษใหญ่และหะดัษเล็ก คือ ต้องไม่มีญะนาบะฮฺ หัยฎู นิฟาส หรือ วิลาดะฮฺ และต้องมีน้ำละหมาด
2. ร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม และสถานที่ละหมาด ต้องสะอาด
3. ต้องปกปิดเอาเราะฮฺ กล่าวคือ ผู้ชายต้องปิดตั้งแต่สะดือถึงหัวหัวเข่า ผู้หญิงจะต้องปกปิดทั่วร่างกาย ยกเว้นมือและใบหน้า
4. ต้องหันหน้าไปทางกิบละฮฺ
5. ต้องรู้ว่าได้เวลาละหมาดแล้ว
6. ต้องรับว่ามุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติการละหมาด
7. ต้องไม่ตั้งใจเปลี่ยนการละหมาดเป็นอย่างอื่น
8. ต้องห่างไกลจากสิ่งที่ทำให้เสียละหมาด
ช่วงเวลา
การละหมาดเป็นการประกอบศาสนกิจที่สำคัญยิ่งสำหรับมุสลิมทุกคนที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง และตามเวลาในแต่ละวัน โดยแบ่งประเภทของการละหมาดออกเป็น ๒ ประเภท คือ การละหมาดฟัรดู และการละหมาดสุหนัต การละหมาดฟัรดูเป็นการละหมาดที่บังคับหรือจำเป็นต้องปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติจะต้องได้รับการลงโทษ โดยแบ่งเป็นสองส่วนคือฟัรดูอิน เป็นละหมาดที่บังคับต้องปฏิบัติโดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อยกเว้นเฉพาะตน วันละ ๕ เวลา สำหรับผู้ชายจะต้องละหมาดญุมอะฮหรือละหมาดวันศุกร์ อีกส่วนหนึ่งคือ ฟัรดูกิฟายะฮู เป็นละหมาดที่บังคับต้องปฏิบัติแต่มีเงื่อนไขในการปฏิบัติตามสถานการณ์ คือหากมีผู้ปฏิบัติอยู่บ้างแล้วจะไม่เป็นบาปแก่คนทั้งหมด เช่น ละหมาดวันอีด (คือการละหมาดในวันอิดิลฟิตรี และอิดิลอัฎฮา) ละหมาดญะนาซะฮ (ละหมาดคนตาย) ส่วนการละหมาดสุหนัตเป็นการละหมาดเนื่องในเวลาและโอกาสต่างๆนอกเหนือจากการละหมาดฟัรดู
2. การปฏิญาณตน คำกล่าวที่ว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น และมุฮัมมัดเป็นบ่าวและศาสนาทูตของอัลลอฮ์” ในการปฏิญาณนี้คือ การยอมรับ ยอมจำนนทุกอย่างที่เกี่ยวกับอิสลาม ทุกอย่างที่มาจากคัมภีร์อัลกุรอานและอัลฮะดิษ คือซุนนะฮ์ที่มาจากท่านนะบี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินชีวิต ศาสนาอิสลามมีพระเจ้าเพียงองค์เดียว ห้ามสักการะในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาและห้ามก้มกราบมนุษย์ด้วยกันเอง เพราะมนุษย์นั้นมีฐานะเท่าเทียมกันถึงแม้จะต่างกันที่สถานภาพ ฐานะ ตำแหน่ง และหน้าที่เราสามารถให้ความเคารพได้แต่เป็นในแนวทางอื่น เพราะมนุษย์เกิดมาจากดินเหมือนกัน มิได้มีวิวัฒนาการมาจากลิง ลิงเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา
3. การถือศีลอด
โดยการถือศีลอด เป็นหลักปฏิบัติในศาสนบัญญัติ 1 ใน 5 ประการ (ประกอบไปด้วย 1.นับถือพระเจ้า(อัลลอฮฺ)องค์เดียวและนบีมูฮำหมัดเป็นศาสนฑูตคนสุดท้าย 2.ดำรงละหมาด 3.บริจาคทาน 4.ถือศีลอด 5.บำเพ็ญฮัจย์ที่ นครเมกกะ) ซึ่งชาวมุสลิมจะประพฤติปฏิบัติตน โดยการ...
- งดอาหาร น้ำ เพื่อจะได้รับรู้ความยากลำบากคนที่ยากไร้ โดยจะเริ่มตั้งแต่แสงพระอาทิตย์ขึ้น แสงพระอาทิตย์เริ่มตกดิน จากการคำนวนดูเวลาแสงพระอาทิตย์ ขึ้น-ตก ตามการคำนวณของหลักดาราศาสตร์อิสลาม วัดตามพิกัดองศาแต่ละพื้นที่ และเมื่อถึงเวลาละศีลอด มักจะรับประทานอินทผลัม โดยได้แบบอย่างมาจากท่านนบีมูฮำมัด ทั้งนี้ ผลอินทผลัมนั้น ประกอบด้วย น้ำตาลฟรุกโตส กลูโคส น้ำ วิตามิน และแร่ธาตุ โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตส จัดเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายเป็นอย่างมาก และเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
- งด ละ เลิก จากสิ่งที่ไม่ดีทั้งหมด ได้แก่ มือ(ทำร้ายหรือขโมย), เท้า(เดินไปสู่สถานที่ต้องห้าม), ตา (ดูสิ่งลามก), หู ( การฟังสิ่งไร้สาระ ,ฟังเรื่องชาวบ้านนินทากัน), ปาก (การนินทาว่าร้ายคนอื่น โกหกโป้ปด)
- ทำความดี บริจาคทานแก่คนยากจน
- อ่านคัมภีร์อัลกุรอาน เนื่องจากในเดือนนี้เป็นเดือนศักดิ์สิทธิ์ที่พระเจ้าประทานคัมภีร์อัลกรุอานมาให้แก่มนุษย์ ดังนั้น ชาวมุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษาถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็นอยู่ในโลกนี้และโลกหน้าจะเป็นอย่างไร และจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง
สำหรับผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือศีลอด ได้แก่
1. คนเจ็บป่วย
2. หญิงที่มีประจำเดือน
3. หญิงที่ให้นมบุตร แต่หากมีความสามารถ ก็จะถือได้
4. หญิงที่ตั้งครรภ์
5. คนแก่ชรา ที่ไม่มีความสามารถเพียงพอ
อย่างไรก็ตาม บุคคลเหล่านี้ต้องจ่ายทาน เป็นข้าวสารวันละ 1 มุด (1 มุด ประมาณ 6 ขีด) และสำหรับคนเจ็บป่วย และสตรีที่มีประจำเดือนนั้นให้ถือศีลอดใช้ภายหลังให้ครบก่อนรอมฎอนในปีถัดไป
เห็นแล้วใช่หรือไม่คะว่า การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ไม่ใช่แค่เรื่องของการงดอาหาร หรือเป็นเพียงแค่การปฏิบัติตามหน้าที่ทางศาสนาของชาวมุสลิมเท่านั้น แต่เพื่อเป็นการขัดเกลาจิตใจของตนเอง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของการเดินทางสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของพระองค์ที่ได้ประทานอัลกุรอานมาให้แก่มนุษย์นั่นเอง
4. การจ่ายซะกาต
ให้จ่ายซะกาตเมื่อถึงเวลาที่วาญิบต้องจ่าย และจ่ายด้วยความพึงพอใจ โดยจ่ายสิ่งที่ดีและมีคุณภาพมากที่สุดจากทรัพย์ที่ต้องจ่าย เป็นสิ่งที่เขารักที่สุด ที่มีความเป็นหะลาลมากที่สุด ทำให้ผู้รับพึงพอใจ ให้ผู้จ่ายมองว่าสิ่งที่ให้ไปเป็นสิ่งที่เล็กน้อยเพื่อให้พ้นจากความลำพองใจ และพยายามปิดบังเพื่อให้พ้นจากการโอ้อวด แต่เปิดเผยบ้างเป็นบางครั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เห็นสิ่งที่เป็นวาญิบนี้(ซะกาต) และเป็นการกระตุ้นให้คนร่ำรวยได้ปฏิบัติตาม และต้องไม่ทำลาย(ผลบุญ)มันด้วยการลำเลิกและการก่อความเดือดร้อนแก่ผู้รับ
ผู้รับซะกาตที่ดีที่สุด
ที่ดีที่สุดก็คือให้ผู้จ่ายซะกาตเลือกจ่ายแก่คนที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺมากที่สุด คนที่เป็นญาติใกล้ชิดที่สุด มีความจำเป็นมากที่สุด และเลือกให้ทานของเขาแก่คนที่จะทำให้ทานนั้นเจริญงอกงามจากบรรดาญาติที่ใกล้ชิด มีความยำเกรง เป็นผู้ศึกษาหาความรู้ คนยากจนที่ไม่ยอมขอ ครอบครัวใหญ่ที่มีความขัดสนเป็นต้น โดยที่เขาควรที่จะจ่ายซะกาตหรือให้ทานก่อนที่จะมีสิ่งกีดขวางมา(ทำให้ไม่สามารถจ่ายหรือให้ได้) และเมื่อใดที่มีคุณสมบัติที่คู่ควรจะรับซะกาตมากขึ้นในบุคคลหนึ่งๆ ก็จะยิ่งทำให้เขาคู่ควรในการรับซะกาตมากกว่า เช่นยากจนและเป็นญาติ ยากจนและเป็นผู้กำลังศึกษา เป็นต้น
“และจงบริจาคสิ่งที่เราได้ให้ปัจจัยยังชีพและพวกท่านก่อนที่ความตาย
จะมาเยือนคนใดคนคนหนึ่งในหมู่พวกท่าน แล้วเขาก็จะกล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า
หากพระองค์ทรงยืดเวลาให้กับข้าอีกสักระยะเวลาหนึ่งอันใกล้
แล้วข้าก็จะจ่ายทานและข้าจะเป็นหนึ่งในหมู่ผู้มีคุณธรรม”
5. การประกอบพิธีฮัจญ์
พิธีฮัจญ์จะทำในเดือน ซุล-ฮิจยะห์ (เดือนที่ 12 ของปีฮิจเราะห์ศักราช) ของแต่ละปี การกำหนดพิธีฮัจย์นั้น จะใช้การดูเดือน เพื่อกำหนดวันต่างๆ โดยจะดูเดือนกันในวันที่ 29 เดือน ซุลเกี๊ยะดะห์ เพื่อกำหนด วันที่ 1 เดือนซุลฮิจยะห์ และวันที่ 10เดือนซุลฮิจยะห์ จะเป็นวัน อีดิ้ลอัฎฮา หรือ อีดใหญ่(รายอ)ที่บ้านเรา ผู้ที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจย์จะทำกรุบาน (เชือดสัตว์ และแบ่งปันเนื้อให้กับผู้ยากไร้)
การประกอบพิธีฮัจญ์มี 3 แบบ
1.ตะมัตตัวะอฺ คือผู้ครองอิหฺรอมตั้งเจตนาทำอุมเราะฮฺก่อนการทำฮัจย์ ขณะที่เข้าสู่เทศกาลฮัจญ์แล้ว
2.อิฟร้อด คือผู้ครองอิหฺรอมหลังจากการทำการตอวาฟกุดูมแล้วเขาจะต้องสวมชุดอิหฺรอมจนกระทั้งถึงวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺหลังจากนั้นจึงทำอุมเราะฮฺ
3.กิรอน คือผู้ครองอิหฺรอมตั้งเจตนาทำอุมเราะฮฺและการทำฮัจย์พร้อมกัน หลังจากการทำอุมเราะฮฺคือตอวาฟและสะแอแล้ว ไม่ต้องโกนศีรษะหรือตัดผม แต่ให้เขาครองอิหฺรอมกระทั้งถึงวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺ