top of page
ศาสนาพราหมณและศาสนาฮินดูเป็นศาสนาเดียวกัน โดยที่ศาสนาฮินดูพัฒนาขึ้นมาจากศาสนาพราหมณ์คัมภีร์ทางศาสนาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เดิมมี 3 คัมภีร์ เรียกว่า ไตรเพท ต่อมาเพิ่มเป็น 4 คัมภีร์ คือ คัมภีร์ที่ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า (ฤคเวท) คัมภีร์ที่เป็นระเบียบวิธีในการทำพิธีบูชายัญและบรวงสรวงต่างๆ (ยรุเวท) คัมภีร์ที่ใช้สวดในพิธีถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า (สามเวท) และคัมภีร์ที่รวบรวมคาถาต่างๆ (อถรรพเวท)
สำหรับหลักธรรมคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้แก่ หลักธรรม 10 ประการ หลักอาศรม 4 (พรหมจารี คฤหัสถ์ วานปรัสถ์ และสันยาสี) หลักปรมาตมันและโฆกษะ
แนวปฎิบัติในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่สำคัญ คือ
1. หลักปฎิบัติเกี่ยวกับวรรณะ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ เป็น4วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร แต่ละชั้นวรรณะต่างก็มีแนวปฎิบัติของแต่ละวรรณะ ซึ่งผู้ที่อยู่ในวรรณะนั้นๆจะละเมิดมิได้ หลักปฎิบัติเกี่ยวกับวรรณะ จะเกี่ยวข้องกับการแต่งงาน อาหารการกิน อาชีพ ที่อยู่ ดังนี้
1.1 การห้ามแต่งงานนอกวรรณะ ชายที่เป็นวรรณะพราหมณ์แต่งงานกับหญิงวรรณะอื่นได้ เรียกว่าอนุโลม แต่หญิงวรรณะพราหมณ์จะแต่งงานกับชายวรรณะอื่นไม่ได้
1.2 อาหารการกิน คนต่างวรรณะกันจะปรุงอาหารให้กันกินไม่ได้
1.3 อาชีพ บุคคลที่เกิดในวรรณะใดต้องประกอบอาชีพที่กำหนดไว้สำหรับบุคคลในวรรณะนั้น
1.4 ที่อยู่ ห้ามไม่ให้ชาวฮินดูมีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยนอกประเทศอินเดีย และห้ามไม่ให้เดินเรือในทะเล
2. พิธีสังสการ เป็นพิธีกรรมประจำบ้าน มี 12 ประการ คือ พิธีตั้งครรถ์ พิธีเมื่อเข้าใจว่าเด็กในครรถ์มีชีวิต พิธีแยกผู้หญิงเมื่อมีครรถ์ พิธีคลอดบุตร พิธีตั้งชื่อบุตร พิธีนำเด็กขณะอายุ 4 เดือน ออกไปดูดวงอาทิตย์ รุ่งอรุณ พิธีป้อนข้าว พิธีโกนผม พิธีตัดผม พิธีเริ่มการศึกษา พิธีกลับบ้านเมื่อจบการศึกษา และพิธีแต่งงาน โดยพราหมณ์จะเป็นผู้ทำพิธีให้
3. พิธีศราทธ์ เป็นพิธีทำบุญอุทิศให้แก่ บิดา มารดา หรือบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งกระทำกันในเดือน 10 ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ ถึงวันแรม 15 ค่ำ เรียกการทำบุญนี้ว่า ทำบิณฑะ
4. พิธีบูชาเทพเจ้า ซึ่งแต่ละวรรณะจะมีการปฎิบัติต่างกัน
bottom of page