top of page
การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนาม
ตั้งแต่ พ.ศ.2430 เป็นต้นมา เมื่อสงครามในคาบสมุทรอินโดจีนสงบลง และมีสันติภาพมากขึ้น ชาวพุทธบางกลุ่มจึงมีความพยายามฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเวียดนามขึ้นมาใหม่ แต่ก็ไม่สู้จะได้รับผลสำเร็จมากนัก ทั้งนี้เพราะมีพระสงฆ์นิกายมหายานเหลือเพียงไม่กี่รูปและชาวเวียดนามรุ่นใหม่ก็นิยมไปเข้ารีตเพื่อนับถือศาสนาคริสต์เสียเป็นส่วนใหญ่
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศมาเลเซีย
ดินแดนประเทศมาเลเซีย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งอยู่บนแหลมมลายูและอีกส่วนหนึ่งอยู่บนเกาะบอร์เนียว นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศมาเลเซียเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 โดยระยะแรกเป็นแบบเถรวาท แต่มีผู้นับถือไม่มากนักจนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ 12 เมื่อแหลมมลายูตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรศรีวิชัย พระพุทธศาสนานิกายมหายานจึงได้เผยแผ่เข้ามาสู่บริเวณนี้แต่พระพุทธศาสนาบนแหลมมลายู ก็ต้องได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนักในรัชสมัยของพระเจ้าปรเมศวรแห่งอาณาจักรมะละกา เมื่อพระองค์เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม แม้ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานอยู่เช่นเดิม จนถึงสมัยของสุลต่านมัลโมซาห์ พระองค์ทรงเสื่อมใสในศาสนาอิสลามมากจนศาสนาอิสลามได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศมาเลเซียไปในที่สุด
ในช่วงที่มาเลเซียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษนั้นได้มีชาวจีนนำพระพุทธศาสนานิกายมหายานจากประเทศจีนเข้ามาเผยแผ่ในประเทศมาเลเซียด้วยแต่ไม่ประสบผลสำเร็จมากนักจนกระทั่งเมื่อมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2500 แล้วมีคณะฑูตจากประเทศไทย ศรีลังกา เมียนมาร์ เดินทางเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศมาเลเซียหลายคณะ จึงพอช่วยให้พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาบ้าง
การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย
่ ประเทศมาเลเซียมีประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่มีประชาชนส่วนหนึ่งซึ่งส่วนมากเป็นชาวจีนยังนับถือพระพุทธศาสนาทั้งนิกายมหายานและนิกายเถรวาทอย่างเหนียวแน่น ปัจจุบันมีองค์กรทางพระพุทธศาสนามากมาย เช่น สมาคมผู้สอนพระพุทธศาสนา ที่วัดพระพุทธศาสนาในกัวลัมเปอร์ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งมาเลเซีย และพุทธสมาคมในมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศมาเลเซีย
bottom of page