top of page

พุทธสาวิกา

นางขุชชุตตรา

นางขุชชุตตรา เป็นสตรีรูปค่อม เป็นธิดาของแม่นมของโฆษกเศรษฐีผู้เป็นบิดาเลี้ยงของพระนางสามาวดีซึ่งต่อมาได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน กษัตริย์กรุงโกสัมภีนางขุชชุตตราได้รับมอบหมายจากเศรษฐีให้เป็นหญิงรับใช้ประจำตัวของพระนางสามาวดีตั้งแต่ยังสาว ต่อมาเมื่อพระนางได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทนและเข้าไปอยู่ในราชสำนักแล้วนางขุชชุตตราก็ได้ติดตามไปรับใช้ด้วยพระเจ้าอุเทนพระราชทานเงินค่าดอกไม้แก่พระนางสามาวดีวันละ 8 กหาปณะ ซึ่งพระนางได้มอบหมายให้นางขุชชุตตราเป็นผู้จัดซื้อดอกไม้ และนางขุชชุตตราก็ได้ยักยอกเงินค่าดอกไม้วันละ 4 กหาปณะ ซื้อมาเพียง 4กหาปณะเท่านั้นเป็นประจำทุกวันวันหนึ่ง คนขายดอกไม้ทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เมื่อนางขุชชุตตราได้ช่วยจัดเตรียมภัตตาหารถวายและได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล วันนั้นนางได้ซื้อดอกไม้ทั้ง 8 กหาปณะมาถวายพระนางสามาวดี ทำให้พระนางสามาวดีเกิดความสงสัยจึงซักถาม นางขุชชุตตราก็ได้รับสารภาพ และเล่าเรื่องที่ตนได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าจนเข้าใจแจ่มแจ้งและบรรลุโสดาปัตติผลแล้วพระนางสามาวดีมีความสนพระทัยใคร่อยากฟังธรรมที่นางขุชชุตตราได้ฟังแล้ว จึงให้นางขุชชุตตราอาบน้ำแต่งตัวอย่างดี ปูอาสนะให้นั่งแสดงธรรมแก่พระนางและหญิงบริวารดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เมื่อจบการแสดงธรรม หญิงเหล่านั้นทั้งหมดบรรลุโสดาปัตติผล พระนางจึงแสดงคารวะและตรัสให้นางขุชชุตตราไม่ต้องทำงานอีกต่อไป ให้นางอยู่ ในฐานะเป็นผู้นำธรรมะของพระพุทธเจ้ามาแสดงทุกวันซึ่งนางก็ได้ปฏิบัติเป็นประจำ ทำให้นางเป็นผู้มีความแตกฉานในธรรมมีความเชี่ยวชาญในธรรมเป็นอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงยกย่องนางขุชชุตตราว่า”เป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ผู้เป็นธรรมกถึก คือ " ผู้แสดงธรรม "
    คุณธรรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
 1. มีความเพียรช่วยเหลือตนเอง แม้ร่างกายจะพิการ คือ หลังค่อม แต่ก็ไม่ยอมแพ้ต่อชีวิต ประกอบการงานหาเลี้ยงชีพด้วยตนเอง
 2. เป็นฝึกฝนตนเอง ถึงแม้ว่านางขุชชุตตราจะยักยอกค่าดอกไม้เป็นประจำทุกวันก็ตาม แต่เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้ว กลับมีความสำนึกผิด ละเว้นในสิ่งไม่ดีที่ได้กระทำและตั้งมั่นอยู่ในความดีได้ในที่สุด
 3. เป็นผู้มีปัญญามาก เอาใจใส่จดจำพระธรรมคำสอนและนำมาถ่ายทอดได้อย่างเชี่ยวชาญ จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะในการเทศน์สอนคนอื่น

พุทธศาสนิกชนตัวอย่าง

พระมหาธรรมราชาลิไท

พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงเป็นพระราวโอรส ของพระยาเลอไท พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๕ แห่งกรุงสุโขทัย ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า ได้ทรงศึกษาวิชาชั้นต้นจากพระเถระชาวลังกา ซึ่งเข้ามาสอนหนังสือและเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง และเมื่อขึ้นครองราชย์ได้๕ ปี
ก็ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. ๑๙0๔ โดยนิมนต์พระเถระจากลังกามาเป็นพระอุปัชฌาย์
พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงเป็นนักปราชญ์ที่รอบรู้ทั้งด้านศาสนา ด้านการปกครองและด้านอักษรรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลด้ ดังนี้
๑.๑) ด้านศาสนา
๑. ทรงเชี่ยวชาญทางด้านศาสนา รอบรู้พระไตรปิฎกอย่างแตกฉาน ทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และปกรณ์พิเศษอื่นๆ โดยทรงศึกษาจากพระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกในขณะนั้น เช่น พระมหาเถรมุนีพงศ์ พระอโนมทัสสีเถรเจ้า เป็นต้น หรือจากราชบัณฑิตฝ่ายฆารวาส เช่น อุปเสนบัณฑิต เป็นต้น
๒. ทรงส่งเสริมอุปถัมภ์ด้านการศึกษาพระพุทธศาสนาและศิลปะศาสตร์ต่างๆ
๓. ทรงส่งราชบุรุษไปขอพระบรมสารีริกธาตุจากลังกาทวีปและได้ทรง นำมาบรรจุไว้ในพระมหาธาตุเมืองนครชุม (เมืองโบราณอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร) 
๔.ทรงส่งราชฑูตไปอาราธนาพระสังฆราชมาจากลังกาทวีป มาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่ามะม่วง นอกจากนี้ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา และทรงสร้างพระพุทธรูปไว้หลายองค์
๑.๒) ด้าน การปกครอง 
๑. โปรดให้สร้างปราสาทราชมณเฑียร 
๒. โปรดให้ยกผนังกั้นน้ำตั้งแต่สองแคว (พิษณุโลก) มาถึงสุโขทัย
๓. ทรงปกครองด้วยทศพิธราชธรรม
๑.๓) ด้านอักษรศาสตร์
๑. ทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง “ไตรภูมิพระร่วง” อันเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องแรกของไทย
๒. โปรดให้สร้างศิลาจารึกไว้หลายหลักจารึกทั้งภาษาไทย มคธ และขอม นอกจากนี้ยังทรงเชี่ยวชาญในด้านไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ โดยที่พระองค์ทรงสามารถคำนวณปฏิทินและลบศักราชได้
พระมหาธรรมราชาลิไทย ทรงเป็นปราชญ์ ทรงรอบรู้ในศิลปะศาสตร์มากมาย ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจและทรงมีพระจริยาวัตรอันเป็นประโยชน์อย่างไพศาล แก่ฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงประพฤติในทางที่จะเป็นธรรมราชา คือ การปกครองพระราชอาณาจักรด้วยธรรมานุภาพเป็นสำคัญ ด้วยเหตุดังกล่าวอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพระองค์จึงเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่าง ยิ่ง
พระมหาธรรมราชาลิไท สวรรคตในปีใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่เข้าใจว่าเป็นช่วงใดช่วงหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๑๑-๑๙๑๗
๒) คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
    ๒.๑) ทรงมีความกตัญญูอย่างยิ่ง พระธรรมราชาลิไท ทรงมีความรักและกตัญญูต่อ
พระ ราชมารดาของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง สังเกตได้จากการที่ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือพระพุทธศาสนาชื่อ “ไตรภูมิพระร่วง” ทรงแจ้งวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งว่า เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา การพระราชนิพนธ์คัมภีร์พระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นการสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง พระองค์ไม่ลืมที่จะแบ่งบุญให้แก่พระมารดาของพระองค์ แสดงว่าทรงมีความรักและกตัญญูใน “แม่บังเกิดเกล้า”มาก เป็นการดำเนินตามรอยพระยุคลบาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จขึ้นไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดอดีตพระพุทธมาดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ฉะนั้น
     ๒.๒) ทรงมีความสามารถในการถ่ายทอดนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เนื้อหาของไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงเรื่องศีลธรรม จริยธรรม เรื่องนรก สวรรค์ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ยากที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ แต่พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงมีความสามารถในการถ่ายทอด ทรงทำเรื่องยากให้ง่ายได้ โดยเฉพาะการยกตัวอย่างหรืออุปมาอุปไมย ทรงทำได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้แจ่มแจ้ง
๒.๓) ทรงมีความคิดริเริ่มเป็นยอด วิเคราะห์ได้จากการที่ทรงบรรยายธรรมในไตรภูมิพระร่วง จะเห็นว่าพระธรรมราชาลิไทมิเพียงแต่ “คัดลอก” ความคิดจากคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา ฎีกา เท่านั้น หากพระองค์ทรงเสนอแนวคิดใหม่ๆ ด้วย เช่น แนวคิดเรื่องคนทำชั่วแล้วถูกจารึกชื่อบนหนังหมา ซึ่งในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา ฎีกา ก่อนหน้านั้นพูดถึงเฉพาะคนทำดีแล้วถูกจารึกชื่อในแผ่นทองเท่านั้น
นอกจาก นี้ พระยาลิไทยังทรงคิดนรกขึ้นมาใหม่ เพื่อลงโทษคนทำความผิดที่ (เชื่อกันว่า) มีในสมัยพระองค์ ซึ่งไม่มีในสมัยพระไตรปิฎกและอรรถกถา ฎีกา คือ ทรงบรรยายถึงคนที่เป็นพ่อค้าโกงสินค้า ข้าราชการทุจริตคอรัปชั่น ตายไปแล้วไปตกนรกขุมดังกล่าว ทรงนำเอาพฤติกรรมของคนสมัยสุโขทัยมาตีแผ่ว่าคนเหล่านั้นตายแล้วจะต้องไปนรก ทำให้พระสกนิกรของพระองค์ “อายชั่ว – กลัวบาป” ไม่กล้าทุจริตคอรัปชั่น แม้ว่าจะไม่มีใครเห็นก็ตาม เพราะฉะนั้นไตรภูมิพระร่วง มองอีกแง่หนึ่งก็คือ “กฎหมายทางใจ” ที่ควบคุมมิให้พสกนิกรของพระองค์ทำผิดทำชั่วนั่นเอง นับเป็นความคิดริเริ่มในการหาอุบายสอนศีลธรรมได้อย่างแยบคาย

ต่อไป
bottom of page